ละคอนวารสารฯ ธรรมศาสตร์ ของ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำหรับประวัติละคอนวารสารฯนั้น ในปี พ.ศ. 2523 หลังจากที่ทางคณะวารสารศาสตร์ฯ ได้ยกฐานะจากแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็น "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ก็ได้ผลิตและจัดแสดงละครเวทีออกมาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มนับลำดับเรื่องอย่างจริงจัง โดยมีชื่อเรื่อง ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2523 เรื่อง หมอผีครองเมือง
  • ปี พ.ศ. 2533 เรื่อง มาดาม ความบ้า กับปารีส
  • ปี พ.ศ. 2535 เรื่อง ดอกไม้สำหรับมิสซิสแฮริส
  • ปี พ.ศ. 2537 เรื่อง เพื่อนผมชื่อโรมิโอกับจูล่ง
  • ปี พ.ศ. 2538 เรื่อง งานเลี้ยง
  • ปี พ.ศ. 2539 เรื่อง เธอ เขา เรา ผม
  • ปี พ.ศ. 2540 เรื่อง ตุ๊ด(ตู่)
  • ปี พ.ศ. 2541 เรื่อง ผู้หญิง...(กับบางสิ่งที่ชวนหัว)
  • ปี พ.ศ. 2542 เรื่อง ถ้า...พระจันทร์
  • ปี พ.ศ. 2543 เรื่อง A Family
  • ปี พ.ศ. 2544 เรื่อง คืนนี้พี่ขอ
  • ปี พ.ศ. 2545 เรื่อง ทบ.๔
  • ปี พ.ศ. 2546 เรื่อง สามเรื่องควบ

  • ปี พ.ศ. 2547 เรื่อง 80 วันรอบบ้าน
  • ปี พ.ศ. 2548 เรื่อง ศึกวังค้างคาว ตอนรัตติกาลจ๊วบ
  • ปี พ.ศ. 2549 เรื่อง ขบวนการ 5 สี V-Ranger
  • ปี พ.ศ. 2550 เรื่อง หมู่บ้านลั้นลา หรรษาราดิโอ
  • ปี พ.ศ. 2551 เรื่อง Dear Passenger...ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ
  • ปี พ.ศ. 2552 เรื่อง Match Maker...เนื้อคู่คุณอยู่ไหน?
  • ปี พ.ศ. 2553 เรื่อง ดาลิต
  • ปี พ.ศ. 2554 เรื่อง Just Buried ด้วยรักและเกลียดชัง
  • ปี พ.ศ. 2555 เรื่อง สุขศาลา
  • ปี พ.ศ. 2556 เรื่อง บานเดม ราตรีต้องคำสาป ตราบาปต้องจำนำ
  • ปี พ.ศ. 2557 เรื่อง The Gypsy Sisters
  • ปี พ.ศ. 2558 เรื่อง The Outer Project
  • ปี พ.ศ. 2560 เรื่อง Aloha Paradise เกาะอลวน คนหลอกผี
  • ปี พ.ศ. 2563 เรื่อง The Enchantra Alcazar เปิดม่านมนตรา มายาตลาดสด

ละครเวทีทุกเรื่องข้างต้นจะแฝงไปด้วยแก่นสาระ แนวคิดต่างๆของนักศึกษา ที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้ผู้ชมในโรงละครได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ผ่านความบันเทิง โดยสิ่งที่เหล่านี้ล้วนกลั่นกรองมาจากสภาพสังคมและปัญหาในปัจจุบันจากมุมมองในฐานะคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในสังคมไทยและในฐานะนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นกระจกเงาสะท้อนสังคม ซึ่งในบางครั้งความคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาในสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อบนเวทีสาธารณะ นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จและเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ทำละครเวที

สำหรับชื่อของละคอนวารสารนั้น จะเห็นว่าใช้คำว่า “ละคอน” แทนคำว่า “ละคร” ซึ่งเป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานจัดเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันนั้น (คำว่า “ละคอน” และ “ละคร” นั้นมีความหมายเหมือนกัน และมักใช้สลับกันจนสับสนแก่ผู้อ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเลือกเก็บคำว่าละคร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว) เนื่องจากต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ละคอนวารสารฯ และยังคงสืบทอดคำว่า “ละคอนวารสารฯ” นี้จวบจนปัจจุบัน

นอกจากนี้นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ละคอนวารสารถูกพัฒนาให้มีลักษณะกึ่งละครเพลง เพิ่มสีสันให้กับการแสดง และการประชาสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลละคอนวารสารฯ คลิกที่นี่

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://203.131.210.100/graduate/?page_id=23 http://203.131.210.100/graduate/?page_id=25 http://203.131.210.100/graduate/?page_id=27 http://203.131.210.100/graduate/?page_id=29 http://www.facebook.com/LakornVarasarn http://www.LakornVarasarn.com http://www.lakornvarasarn.com http://www.bjm.jc.tu.ac.th/ http://www.bjm.jc.tu.ac.th/# http://www.jc.tu.ac.th